Daily NewsRecent Posts

WAVE BCG และ Climate Offset Accelerator ร่วมกับ Token X ศึกษาความเป็นไปได้ในการออกโทเคนดิจิทัลที่มี RECs เป็นสินทรัพย์อ้างอิงส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน

บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด หรือ WAVE BCG ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัท เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล จำกัด (มหาชน) หรือ WAVE และ บริษัท ไคลเมท ออฟเซ็ท แอ็คเซลเลอเรเทอร์ จำกัด หรือ Climate Offset Accelerator ผู้ออกโทเคนดิจิทัล ร่วมกับ บริษัท โทเคน เอกซ์ จำกัด หรือ Token X ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) ซึ่งอยู่ภายใต้ กลุ่มธุรกิจทางการเงินเอสซีบี เอกซ์ (SCBX) ในการศึกษาการออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่มีใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Enegy Certificates: RECs) เป็นสินทรัพย์อ้างอิง โดยนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาใช้ในการส่งเสริมการพัฒนาและสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยเบื้องต้นทุกฝ่ายศึกษาความเป็นไปได้ในการออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลทั้งในรูปแบบโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Tokens) และโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Tokens)

แรงกดดันจากนานาชาติ ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องเตรียมรับมือกับกลไกการลดก๊าซเรือนกระจก

นายเจมส์ แอนดริว มอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร WAVE BCG จำกัด กล่าวว่า เนื่องจากความจำเป็นเร่งด่วนในการสร้างเสถียรภาพด้านการลดก๊าซเรือนกระจกที่ประเทศไทยจะต้องดำเนินการภายใต้ความตกลงปารีส (Paris Agreement) ในการบรรลุเป้าหมายควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5-2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม และจากการประชุม Climate Ambition Summit 2023 ที่ผ่านมาประเทศไทยได้ให้คำมั่นในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยตั้งเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2593 ตลอดจนเพิ่มเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions: NDC) ที่เพิ่มขึ้นจาก 20% เป็น 40% ภายในปี พ.ศ. 2573

นอกจากนี้ยังมีกลไกด้านการลดก๊าซเรือนกระจกจากต่างประเทศ เช่น สหภาพยุโรปบังคับใช้กลไกการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism:  CBAM) ที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยประมาณ 14,700 ล้านบาท และสหรัฐอเมริกาอยู่ระหว่างการเสนอ Clean Competition Act หรือ CCA ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในอนาคต เป็นต้น รวมถึงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศสิงคโปร์มีการบังคับใช้ภาษีคาร์บอน โดยมีอัตราภาษีเริ่มต้น 5 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อตันคาร์บอน ในปี พ.ศ. 2566 จะเพิ่มขึ้นเป็น 25 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อตันคาร์บอน ในปี พ.ศ. 2567 – 2568 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 45 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อตันคาร์บอน ในปี พ.ศ. 2569 – 2570 อีกทั้งมีแรงกดดันจากบริษัทต่างชาติที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อุปทาน และกองทุนที่ระดมเงินทุนจากผู้ลงทุน (Private Equity Fund) จะไม่สามารถลงทุนในบริษัทที่มีคะแนน ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social, Governance: ESG) ต่ำ ซึ่งจากแรงกดดันดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันและเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างประเมินค่าไม่ได้ จึงต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อรักษาความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ความได้เปรียบภายใต้ข้อกำหนดด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกดังกล่าว และยังคงความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลก รวมถึงป้องกันการกีดกันทางการค้าภายใต้กลไกรักษ์โลก

โดย นางสาวจิตตินันท์ ชาติสีหราช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเคน เอกซ์ จำกัด (Token X) บริษัทภายใต้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ (SCBX Group) กล่าวเสริมว่า “Token X เล็งเห็นถึงบทบาทสำคัญของโทเคนดิจิทัล ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน Asset Class ที่จะเข้ามามีบทบาทในโลกยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และมีความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศมากขึ้นเรื่อยๆ จึงมุ่งมั่นที่จะเป็นคำตอบของภาคธุรกิจและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการนำโทเคนดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชนประสานเข้ากับธุรกิจ สินทรัพย์ และโครงการของผู้ประกอบการ เพื่อผลักดันในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของทุกคนอย่างยั่งยืน

ประเทศไทยติด Top 10 ของโลก เสี่ยงเจอปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

หนึ่งในความท้าทายของประเทศไทยที่ต้องเผชิญคือ ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงในการได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอันดับ 9 ตามการรายงานของ German Watch รวมไปถึงการประเมินของ Climate Action Tracker ได้ประเมินว่า หากประเทศไทยยังดำเนินมาตรการตามแบบปัจจุบันต่อไป (Critically Insufficient) จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ อีกทั้งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยใน ปี พ.ศ. 2562 ปล่อยกว่า 372 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เป็นอันดับ 20 ของโลก  โดยภาคพลังงานมีสัดส่วนการปล่อยมากถึง 70% ของมวลรวมทั้งหมดของประเทศ ในขณะที่สัดส่วนการผลิตพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศมีเพียง 13% ของพลังงานไฟฟ้ามวลรวมทั้งหมด

จากการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นจำนวนมาก เช่น การพัฒนาโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการซื้อขายคาร์บอนเครดิต เป็นต้น แต่ยังคงไม่เพียงพอและมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศ Green Taxonomy หรือ มาตรฐานกลางที่ใช้อ้างอิงในการจำแนกและจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของไทย เพื่อให้สถาบันทางการเงินใช้เป็นจุดยึดโยงเพื่อประเมินสถานะของตนเองและลูกค้า ในการออกผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่สอดคล้องกับ NDC ของประเทศไทย หากผู้ประกอบการรายใดมีแนวโน้มในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงจากกิจกรรมขององค์กร จะมีโอกาสน้อยในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนทางการเงินต่ำได้อีกในอนาคต นอกจากนี้ประเทศไทยเริ่มปรับใช้แนวทางเป็นภาคบังคับมากขึ้นแทนที่ภาคสมัครใจในปัจจุบัน เพื่อให้บรรลุความมุ่งมั่นพันธกรณีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านการร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยจะกำหนดเกณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือใช้พลังงานสูง หากมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินเกณฑ์ จะมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การได้รับบทลงโทษ อีกทั้ง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ยังกำหนดให้บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ต้องเปิดเผยข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ Carbon Footprint ในรายงานฉบับเดียว (One Report) เพื่อยกระดับการเปิดเผยข้อมูล ESG และขณะนี้กำลังพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อเปิดเผย Carbon Footprint ขององค์กรในประเทศไทย

หน่วยงานไทยงัดมาตรการสู้ปัญหาโลกเดือดอย่างเป็นรูปธรรม

อีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยประเทศไทยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็คือ “ใบรับรองพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC)” ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะสนับสนุนการเพิ่มขึ้นและการขยายของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเครื่องมือนี้มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และระบุแหล่งที่มาชัดเจนว่าพลังงานหมุนเวียนนี้มาจากโรงไฟฟ้าประเภทใด รวมไปถึงการใช้อ้างสิทธิ์ใน Emission Scope 2 ซึ่งเป็นหนึ่งในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงานไฟฟ้าขององค์กร โดยมาตรฐานการขึ้นทะเบียน RECs ภายในประเทศไทย เป็นมาตรฐาน International Renewable Energy Certificate: I-REC ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับสากล กว่า 48 ประเทศทั่วโลก  และเป็นที่นิยมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยประเทศไทยมีปริมาณการขึ้นทะเบียนมากถึง 16 ล้าน RECs ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 จนถึง ปี พ.ศ. 2566

เมื่อ RECs จะกลายเป็นสิ่งที่ต้องการมากขึ้นในองค์กรที่มีการเปิดเผยข้อมูล ESG

นอกจากนี้การซื้อขายใบรับรองพลังงานหมุนเวียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสิงค์โปร์ ซึ่งบริษัทชั้นนำอย่าง Starhub Singtel และ Grab ได้สนับสนุนการซื้อขายใบรับรองพลังงานหมุนเวียนโดยมีประเทศไทยและเวียดนามเป็นคู่ค้าหลัก

โทเคนดิจิทัล เครื่องมือทางการเงินในการลงทุนรูปแบบใหม่

โทเคนดิจิทัลที่มี RECs เป็นสินทรัพย์อ้างอิงนั้น คาดว่าจะมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ลงทุนรายใหญ่และภาคธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีพันธกิจในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยวัตถุประสงค์ในการพัฒนาโทเคนดิจิทัลที่มี RECs เป็นสินทรัพย์อ้างอิงครั้งนี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในระดับโลก ให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศภายในปี พ.ศ. 2593

3 บริษัทร่วมกันผลักดันตลาด RECs ให้มีเสถียรภาพมากขึ้น

ในโครงการนี้มีผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย ได้แก่

Token X ผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานก.ล.ต. และ ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยี Blockchain Solution โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างภาคธุรกิจให้ขับเคลื่อนความก้าวหน้า ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจไทยผ่านการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ Token X มีความเชี่ยวชาญด้านโทเคนดิจิทัล พร้อมทีมงานมืออาชีพ์ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า นำพาไปสู่การใช้งานจริงอย่างมีคุณภาพ

WAVE BCG ผู้ให้บริการด้าน Climate Solutions ครบวงจร มีความเชี่ยวชาญด้านตลาดคาร์บอนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งการให้คำปรึกษาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย การเป็นผู้พัฒนา การศึกษาและจัดหาคาร์บอนเครดิต รวมถึงการซื้อขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน

Climate Offset Accelerator ผู้มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการบริหารจัดการ RECs ในฐานะผู้ออกโทเคนดิจิทัลที่มี RECs เป็นสินทรัพย์อ้างอิง

 

#bidennews #หมาป่าแห่งวอลสตรีท

Related Articles

Back to top button