Daily NewsRecent Posts

TFG ฟันธง! มีแนวโน้มฟื้นตัวแรง ผลพวงจากโลกขาดแคลนอาหาร หนุนยอดส่งออก-ราคาขายไก่พุ่งกระฉูด

นายเพชร นันทวิสัย ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (TFG) เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบต่ออุปทานไก่ทั่วโลก โดยเฉพาะยุโรป (ไม่รวมอังกฤษ) ที่มีการนำเข้าไก่จากยูเครนสัดส่วนกว่า 20% ของปริมาณนำเข้า ส่งผลให้ยอดส่งออกไก่ไปต่างประเทศในปีนี้ คาดว่าจะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ โดยปีนี้คาดว่ายอดส่งออกไก่ไปต่างประเทศจะเพิ่มขึ้น ประมาณ 20% ทั้งในส่วนของไก่ดิบ ไก่แช่แข็ง และไก่ปรุงสุก โดยยอดขายส่วนใหญ่จะเติบโตจากการส่งออกไก่ไปยุโรปเป็นหลัก และคาดว่ารายรับจากการส่งออกไก่ไปต่างประเทศอยู่ที่ประมาณ 20-30% ของรายได้จากการขาย  โดยฐานการส่งออกไก่ไปต่างประเทศที่สำคัญอยู่ในยุโรป ญี่ปุ่น  จีน และมาเลเซีย

นอกจากนี้ ยังได้รับปัจจัยบวกจากกรณีที่มาเลเซียระงับการส่งออกไก่ 3.6 ล้านตัว/เดือน มีผล 1 มิ.ย.นี้ เพื่อแก้ปัญหาราคาไก่ในประเทศแพง จากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น หลังมีสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้มีโอกาสที่สิงคโปร์ที่เป็นลูกค้ารายใหญ่จะหันมานำเข้าไก่จากไทยมากขึ้น เพื่อทดแทนที่นำเข้าจากมาเลเซีย

“แนวโน้มผลการดำเนินงานในปีนี้คาดว่าจะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ จากการฟื้นตัวของยอดขายและราคาขาย โดยเฉพาะไก่ส่งออกและไก่ปรุงสุก ในต่างประเทศ เนื่องจากภาวะการขาดแคลนอาหารที่เกิดขึ้นทั่วโลก จากสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน อีกทั้งสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว”

นายเพชร กล่าวอีกว่า กลุ่มบริษัทฯวางเป้าหมายรวมในปี 2565 จะเติบโตประมาณ 10-15% เทียบปีที่ผ่านมา จากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลาย อีกทั้งยังได้รับปัจจัยหนุนจากราคาขายหมู และไก่ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ตามดีมานด์ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ตั้งงบลงทุนไว้ที่ประมาณ 3.5 พันล้านบาท เพื่อลงทุนในธุรกิจสุกรทั้งในประเทศไทยและเวียดนาม

นอกจากนี้ ยังมีแผนขยายฐานรายย่อยผ่านการขยายสาขา ร้านไทย ฟู้ดส์ เฟรช มาร์เก็ต เพื่อช่วยกระจายผลิตภัณฑ์ของ TFG ให้กับลูกค้ารายย่อยโดยตรง สามารถส่งต่อสินค้าคุณภาพในราคาเหมาะสม โดยบริษัทตั้งเป้าขยายสาขาในปี 2565 ให้มีจำนวนสาขา ณ สิ้นปี 2565 เป็น 200 สาขา และมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการประมาณ 40

,000 คน/วัน

#bidennews #หมาป่าแห่งวอลสตรีท

Related Articles

Back to top button